ปูนกันซึมคืออะไร ทำไมบางครั้งเรียกซีเมนต์กันซึม
what is cement waterproofing
ปูนกันซึมคืออะไร
ปูนกันซึม หรือ บ้างครั้งเรียกว่า “ซีเมนต์กันซึม” เป็นคำเรียกโดยย่อของวัสดุกันซึมที่มีซีเมนต์เป็นส่วนประกอบหลักโดยปูนกันซึมจะมี 2 ส่วนผสมคือ Part A เป็นส่วนของปูนผง กับ Part B เป็นส่วนของน้ำยากันซึม เมื่อผสมกันทั้ง 2 ส่วนแล้วจะทำให้เป็นวัสดุกันซึมชนิดทากับคอนกรีต สามารถใช้ได้ทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน มีคุณสมบัติยืดหยุ่นตัวสามารถปูกระเบื้องทับได้ มีอายุการใช้งานยาวนาน ปูนกันซึมหรือซีเมนต์กันซึม จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งก่อนปูกระเบื้องในห้องน้ำ ระเบียง สระว่ายน้ำ หรือใช้กับถังเก็บน้ำใต้ดิน ระเบียง บ่อปลา ถังเก็บน้ำดี เป็นต้น ปูนกันซึมหรือซีเมนต์กันซึมมีหลายเกรดหลายคุณภาพ ทั้งคุณสมบัติสูงที่มีความยืดหยุ่นสูง หรือเกรดทั่วไปที่มีความยืดหยุ่นน้อย ปูนกันซึมหาซื้อได้ทั่วไป ตามร้านวัสดุก่อสร้าง หรือ ร้านค้าต่างๆ ในปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศไทย แต่เท่าที่พบในช่างส่วนมากยังไม่มีความเข้าใจที่จะใช้งานให้เป็นมาตรฐานโดยมักหลีกเลี่ยงการทาปูนกันซึมหรือซีเมนต์กันซึมในห้องน้ำ โดยทั้งที่ไม่มีความรู้และมีความรู้แต่หลีกเลี่ยงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ขอเน้นย้ำว่าปูนกันซึมหรือซีเมนต์กันซึม เป็นสิ่งที่ต้องติดตั้งทุกครั้งก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ หรือ โครงการที่สัมผัสกับห้องน้ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้น.
การใช้งานปูนกันซึม
พื้นที่ ที่สามารถใช้งานปูนกันซึมได้
-
ระบบกันซึมห้องน้ำ
-
พื้นระเบียง
-
พื้นห้องครัว
-
ถังเก็บน้ำใต้ดิน
-
บ่อพักน้ำ
-
อ่างเลี้ยงปลา
-
ห้องซักล้าง
-
บ่อน้ำทั่วไป
ข้อดีของวัสดุปูนกันซึม
-
สามารถติดตั้งปูนกันซึมได้ด้วยตัวเอง
-
ซีเมนต์กันซึมใช้ได้กับบ่อน้ำดี
-
ปูนกันซึมสามารถยืดหยุ่นได้เล็กน้อย
-
สามารถใช้ซีเมนต์กันซึมในหลายพื้นที่
-
ปูนกันซึมไม่มีโลหะหนักผสม
-
สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป
-
สามารถใช้ปูนกันซึมกับปูนกาวปูกระเบื้องได้ทุกยี่ห้อ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งปูนกันซึม
-
สว่านกวน
-
ถังเปล่า
-
แปรง หรือลูกกลิ้ง
-
อุปกรณ์ทั่วไป
การเตรียมพื้นผิวซีเมนต์ทากันซึม
ปูนกันซึมก่อนที่จะทาลงบนพื้นผิวคอนกรีต คอนกรีตควรมีความสะอาด ไม่มีฝุ่น หรือเศษคาบปูน ไม่มีคาบน้ำมัน หรือจารบี ก่อนการติดตั้งควรทำการดูดฝุ่น ในกรณีที่มีฝุ่นมากตามขอบมุม ให้ทำการเก็บงาน เช่น ติดตั้งเทปกันซึม หรือปั้นบัวสามเหลี่ยม และที่สำคัญก่อนการทาน้ำยาปูนกันซึม ให้ทำการพรมน้ำเพื่อให้พื้นผิวมีความชื้น ก่อนการทาปูนกันซึมลงบนพื้นผิวที่เตรียมไว้ ห้ามทาปูนกันซึมบนพื้นผิวที่แห้งโดยเด็ดขาด
การผสมซีเมนต์กันซึม
ให้ผสมส่วนผสม A และส่วนผสม B ด้วยสว่านกวนเท่านั้น ห้ามใช้มือผสมโดยเด็ดขาด การผสมใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที ผสมแล้วสามารถดูได้ว่าเนื้อปูนผสมกันได้ดี โดยสังเกตได้จากเนื้อปูนกันซึมได้ว่าจะไม่มีเม็ด หรือปูนก้อนหลงเหลืออยู่ เนื้อปูนกันซึมเป็นลักษณะเนื้อครีมเป็นเนื้อเดียวกัน ควรทากันซึมให้หมดภายใน 45 นาที อุณหภูมิประมาณ 35 องศา
การทาปูนกันซึม
ให้ใช้แปรง หรือลูกกลิ้งในการทาปูนกันซึม ให้ทาผนังห้องน้ำทั้ง 4 ด้านก่อนหลังจากนั้นจึงทาพื้น ถ้ามีงานบัวให้ทาบัวก่อน โดยบัวควรมีความสูงประมาณ 15 ซม. เมื่อทาพื้นที่ทั้งหมดแล้ว รอให้แห้งตัวประมาณ 2 ชั่วโมง จึงเข้าไปทาเที่ยวที่ 2 หลังจากนั้นให้รอ 24 ชั่วโมง จึงทำการบ่ม
หลังการติดตั้งปูนกันซึม
ควรทำการพรมน้ำบนพื้นที่ทากันซึมทั้งหมด พรมเป็นเวลา วันละ 3 เที่ยว เป็นเวลา 3 วันเป็นอย่างน้อย ถ้าจะทำการปูกระเบื้อง ควรทิ้งไว้ 7 วัน ห้ามปูกระเบื้องก้อนเวลาบ่มตัวเสร็จสิ้น
ข้อควรระวังในการใช้ปูนกันซึม
-
ควรติดตั้งปูนกันซึมในเวลาที่ไม่ร้อนมาก เช่น ช่วงเช้า หรือช่วงบ่ายแก่ๆ
-
ห้ามผสมด้วยมือเด็ดขาด
-
พื้นที่ ที่เป็นดาดฟ้าที่โดนรังสียูวี ไม่แนะนำในการใช้งาน
-
พื้นที่ ที่รับน้ำหนัก และสั่นสะเทือนสูง เช่น พื้นโรงงาน
-
ไม่ควรใช้ปูนกันซึมกับบ่อที่มีกรด และด่างสูง
-
ควรเก็บปูนกันซึมในที่ร่มก่อนการใช้งาน