การติดตั้งยางบวมน้ำ (swelling waterstop)
การติดตั้งสามารถใช้ทั้งกาวยางและตะปูคู่กันได้ โดยให้ทากาวยางลงบนทั้งพื้นผิวคอนกรีตและผิวยางบวมน้ำ รอให้เซ็ตตัวสัก 5-10 นาที สังเกตว่ากาวจะมีความหนืดขึ้น จับยางกดลงบนผิวคอนกรีตและปล่อยทิ้งให้แห้งสนิท หลังจากนั้นสามารถใช้ตะปูตอกคอนกรีตตอกตามแนว ทุกระยะ 40-50 เซนติเมตร
การเลือกขนาดยางบวมน้ำให้เหมาะสมตามขนาดของรอยต่อดังนี้
-
รอยต่อพื้นหรือผนังที่มีความหนา น้อยกว่า 10cm แนะนำให้ใช้ขนาด 20mm x 10mm
-
รอยต่อพื้นหรือผนังที่มีความหนา ระหว่าง 10cm - 18cm แนะนำให้ใช้ขนาด 20mm x 15mm
-
รอยต่อพื้นหรือผนังที่มีความหนา มากกว่า 18cm แนะนำให้ใช้ขนาด 25mm x 10mm
การต่อยางบวมน้ำให้ใช้วิธีการต่อแบบ หัวชนท้าย (butt joint) ห้ามต่อกันด้วยการทาบเพราะจะทำให้ยางบวมน้ำช่วงทาบมีการบวมที่มากขึ้นถึง 2 เท่า อาจเป็นผลทำให้เกิดการล้นของสารเบนโทนไนนท์
ดังนั้นให้ทำการต่อหัวชนท้ายและให้แนบสนิทกันเป็นเนื้อเดียว สามารถตอกตะปูยืดเพื่อความมั้นคงขณะเทคอนกรีต
เมื่อติดตั้งยางบวมน้ำเสร็จแล้ว ให้ทำการเทคอนกรีตทันที ระวังเรื่องน้ำและฝนที่อาจจะรั่วลงมาและทำให้ยางบวมน้ำ บวมก่อนที่จะเทคอนกรีตได้
กรณีฝนตกควรหาผ้าใบพลาสติกมาคลุมและระวังน้ำขังบริเวณไม้แบบ ควรทำการระบายน้ำทันทีถ้ามีน้ำขังเกิดขึ้น