น้ำยาทาแบบสูตรน้ำ และน้ำยาทาแบบสูตรน้ำมัน
Mould Release Agent for Concrete (water based & oil based)


น้ำยาทาแบบสำหรับคอนกรีต
น้ำยาทาแบบ คืออะไร
น้ำยาทาแบบ คือ น้ำยา หรือน้ำมันช่วยให้การเทคอนกรีต และถอดแบบคอนกรีตมีผิวที่สวยงาม และไม้แบบอยู่ในสภาพเดิมสามารถใช้ครั้งต่อไปได้ โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบของเหลว เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งน้ำยาทาแบบ สามารถใช้ได้กับคอนกรีตทุกชนิด เช่น คอนกรีตที่มีกำลังสูงเป็นพิเศษ
ชนิดของน้ำยาทาแบบ
-
น้ำยาทาแบบสูตรน้ำ คือ น้ำยาทาแบบที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลัก และมีสารผสมเพิ่มที่ช่วยในการถอดแบบได้ง่ายขึ้น และรักษาคุณภาพของไม้แบบ แต่มีข้อจำกัด คือความสวยงามของผิวคอนกรีต มีราคาถูก สามารถใช้ได้ทั้งแบบไม้ และแบบเหล็ก เป็นน้ำยาที่ใช้ทาแบบแพร่หลายที่สุดในประเทศ
-
น้ำยาแบบสูตรน้ำมัน คือ น้ำยาทาแบบที่มีส่วนผสมน้ำมันเป็นหลักมีสารผสมเพิ่ม เพื่อให้ทาน้ำยาได้ลื่นขึ้น น้ำยาทาแบบชนิดนี้มีราคาค่อนข้างแพง แต่ได้คุณสมบัติพื้นคอนกรีตสวยงาม และใช้กับแบบเหล็กได้ดี มักใช้น้ำยาทาแบบชนิดนี้กับโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีต หรือพรีคาสท์คอนกรีต
-
น้ำยาทาแบบชนิดผสมน้ำเพื่อใช้งาน คือ น้ำยาทาแบบซึ่งผสมน้ำใช้งานได้คล้ายกับน้ำยาทาแบบสูตรน้ำ แต่มีราคาต่อหน่วยที่ถูกกว่า สามารถผสมน้ำได้ 1:5 หรือ 1:7 เท่า สามารถใช้น้ำมันทาแบบกับโรงงานพรีคาสท์คอนกรีต
อัตราการใช้น้ำยาทาแบบ
-
ไม้แบบชนิดไม้อัด (ดำ) อัตราการใช้
-
ไม้แบบชนิดเหล็ก อัตราการใช้
-
ไม้แบบชนิพลาสติก อัตราการใช้
วิธีดูแลรักษา หลักการทาน้ำมันทาแบบ
น้ำยาทาแบบ เมื่อทาแบบเสร็จแล้วควรใช้งานทันที ไม่ควรเว้นระยะไว้นานกว่า 24 ชั่วโมง กรณีที่ฝนตก และชะล้างผิวหน้าของน้ำยาทาแบบ ให้ทำการทาซ้ำอีกครั้ง
น้ำยาบ่ม
Curing Compound


น้ำยาบ่มคอนกรีต คืออะไร
ทำไมต้องบ่มคอนกรีต
ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของปูนซีเมนต์ เป็นการระเหยของน้ำผ่านช่องว่างภายในคอนกรีต การระเหยของน้ำมีความเร็วช้าแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความชื้นในบรรยากาศรอบบริเวณที่เทคอนกรีต การบ่มคอนกรีตเป็นกิจกรรมที่จำเป็นในการเทคอนกรีต เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ กำลัง และความทนทานของคอนกรีตจะพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อ มีการบ่มคอนกรีตตามมาตรฐาน ปริมาณน้ำในการผสมในคอนกรีตจะมีมากกว่าปริมาณที่ระเหย จึงจำเป็นต่อการป้องกันการระเหยของน้ำไม่ให้รวดเร็วเกินไป จนถึงระยะที่คอนกรีตพัฒนาคุณสมบัติ ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยรวมการบ่มคอนกรีต คือการป้องกันการระเหยของน้ำในคอนกรีต หรือการเพิ่มปริมาณน้ำไปในผิวคอนกรีต
วิธีการบ่มคอนกรีต
หลักการที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักการ เพื่อคงปริมาณน้ำในคอนกรีต
-
ทำการพ่นน้ำ หรือใช้กระสอบพร้อมด้วยน้ำปิดผิวหน้าคอนกรีต
-
ปกป้องการสูญเสียของน้ำภายในคอนกรีตด้วยการใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต
การบ่มคอนกรีตด้วยน้ำ
เป็นวิธีการพ่นน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณไม่เกิน 11 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้มายาวนาน ควรทำทันทีหลังคอนกรีตเซ็ตตัว หากใช้น้ำ หรือพ่นน้ำไม่ถูกวิธีจะเกิดรอยร้าวในคอนกรีต ซึ่งบางครั้งต้องใช้น้ำจำนวนมากในการบ่มด้วยวิธีนี้ วิธีเลือกใช้น้ำยาบ่มคอนกรีตเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
น้ำยาบ่มคอนกรีต
น้ำยาบ่มคอนกรีต คือ วิธีการปกป้องความชื้นในคอนกรีตระเหยตัวเร็วเกินไป โดยมีวัสดุหลักในการใช้คอนกรีต เช่น แว๊ก เรซิ่นสังเคราะห์ และเรซิ่นธรรมชาติ เมื่อทาน้ำยาบ่มคอนกรีตลงบนผิวขณะน้ำยาบ่มคอนกรีตแห้งตัว จะเกิดฟิล์มบางๆ ฟิล์มที่เกิดขึ้นจะสลายตัว หรือไม่สลายตัวขึ้นอยู่กับน้ำยาบ่มคอนกรีตที่ใช้ ควรทำการพ่นน้ำยาบ่มคอนกรีตในอัตราเท่าๆ กันในอัตรา0.2-0.25 ตารางเมตร/ลิตร สามารถติดตั้งได้ด้วยการทา หรือสเปรย์ ควรใช่ทันทีหลังแกะแบบ และสังเกตที่ผิวว่ายังมีความชื้นในคอนกรีตเหลืออยู่
น้ำยาบ่มคอนกรีตใช้ได้กับ
-
พื้นถนนคอนกรีต พื้นสนามบิน สะพาน พื้นโรงงาน
-
รางระบายน้ำ เขื่อนคอนกรีต
-
พรีคาสท์คอนกรีต
-
โครงสร้าง หลังคา เสา คาน ฐานราก
การทดสอบน้ำยาบ่มคอนกรีต
ตามมาตรฐาน ASTM ใช้หลักการทกสอบดังนี้
-
การกักน้ำ
-
การสะท้อนแสง
-
การแห้งตัว
-
การเซ็ตตัว
-
สารประกอบ
การเก็บตัวอย่างน้ำยาบ่มคอนกรีต
ควรเก็บตัวอย่างอย่างน้อง 3 ตัวอย่างต่อน้ำยาบ่มตัวอย่างที่ทำการทดสอบ
เหตุผลที่ต้องบ่มคอนกรีต
เหตุผลที่ต้องบ่มคอนกรีต (why we cure concrete)
-
เพิ่มกำลังคอนกรีต กำลังของคอนกรีตเพิ่มขึ้นตามอายุ และเกิดความร้อนที่เพิ่มขึ้นในปฏิกิริยาไอเดรชั่น จากรูปแสดงการเพิ่มขึ้นของกำลังอัดภายใต้การบ่มคอนกรีต โดยแบ่งการบ่มคอนกรีตตามระยะเวลา จากรูปจะเห็นว่าคอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มจะมีกำลังอัดเพียงแค่ 40% เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่บ่มด้วยน้ำ
-
เพิ่มความทนทานในคอนกรีต ความทนทานของคอนกรีตจะมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ความสามารถในการพรุนน้ำ ความพรุนของคอนกรีต การดูดซึมน้ำ คอนกรีตที่มีคุณสมบัติดีจะมีการเกิดรอยแตกร้าวน้อย เมื่อเทียบกับคอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มตัวคอนกรีตที่ได้รับการบ่มจะมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำได้มากขึ้น
-
เพิ่มคุณภาพในการใช้งานคอนกรีต คอนกรีตที่เกิดการแห้งตัวอย่างรวดเร็วจะเกิดการแห้งตัว เมื่อไม่ได้รับการบ่มตัวจะเกิดการเสียสภาพความแกร่งที่ผิวหน้า
-
พัฒนาโครงสร้างเล็ก ๆ ในคอนกรีต โครงสร้างเล็ก ๆ ภายในคอนกรีตจะพัฒนาได้ไม่ว่าจะเป็นการบ่มด้วยคอนกรีต หรือการบ่มคอนกรีตด้วยน้ำ การพัฒนาโครงสร้างเล็ก ๆ จะเกิดปฏิกิริยาซึ่งจะทำให้คอนกรีตควบแน่น และมีรูพรุนน้อย
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการบ่มคอนกรีต (curing time)
-
หลังจากคอนกรีตเทเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการแห้งตัวเบื้องต้น เริ่มมีน้ำที่ผิวหน้าคอนกรีตในช่วงเวลานี้ น่าจะเกิดที่ผิวหน้าคอนกรีต ถ้าระเหยออกไปอย่างรวดเร็วจะเกิดรอยร้าวบนผิวหน้า ซึ่งในเวลานี้ควรทำการบ่มทันที
-
ช่วงเวลาระหว่างเซ็ตตัว ช่วงแรก และช่วงสุดท้าย ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่ป้องกันการร้าวในคอนกรีต
-
หลังจากคอนกรีตเซ็ตตัวเรียบร้อยแล้ว สมารถทำการบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดน้ำ
ข้อสรุป (conclusion)
ปฏิกิริยาเคมีระหว่างซีเมนต์กับน้ำจะเกิดสารที่ชื่อ C-S-H ซึ่งเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีต ทราย หิน น้ำยาผสมคอนกรีต ยึดโยงกันกลายเป้นโครงสร้างคอนกรีต ปฏิกิริยานี้จะสมบูรณ์เมื่อบ่มคอนกรีตอย่างน้อย 14 วัน การจะเพิ่มความหนาแน่นในโครงสร้างคอนกรีต และเพิ่มความสามารถในการลดการซึมของน้ำ จำเป้นต้องบ่มคอนกรีตต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความทนทานจนถึง 28 วัน โครงการก่อสร้างในปัจจุบันได้ละเลยการบ่มคตอนกรีต ซึ่งเป็นผลให้คอนกรีตมีคุณภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น