top of page

น้ำยาประสานคอนกรีต

Latex Bonding Agent

น้ำยาประสานคอนกรีต คืออะไร

น้ำยาประสานคอนกรีต

ทำไมเราถึงใช้น้ำยาประสานคอนกรีต และจะเลือกใช้ชนิดไหน

การก่อสร้างที่ใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลักจะมีรอยต่อ และมีการเททับเพื่อเพิ่มระยะความหนา การที่คอนกรีตสดเทลงคอนกรีตที่แห้งแล้ว จะมีรอยต่อที่เกิดขึ้นระหว่างคอนกรีตเก่า และคอนกรีตใหม่ เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตทั้ง 2 ส่วน

เหตุผลที่เลือกใช้น้ำนาประสานคอนกรีต

                ซีเมนต์ ในส่วนผสมของคอนกรีตจะไม่มีน้ำยาประสานคอนกรีตเป็นส่วนผสม เมื่อนำคอนกรีตใหม่เททับผิวคอนกรีตเก่า (คอนกรีตที่แห้งตัวแล้ว) จะเกิดการแยกชั้นระหว่าง 2 คอนกรีต ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างชั้น เกิดโพรงอากาศระหว่างชั้น น้ำยาประสานคอนกรีต (Latex Bouding Agent) ใช้ในการเชื่อมผสานผิวคอนกรีตทั้ง 2 ให้มีแรงยึดเหนี่ยวที่ผิวมากขึ้น ไม่เกิดการร่อนของคอนกรีตใหม่ หลังจากคอนกรีตเซตตัวแล้ว น้ำยาประสานคอนกรีตยังสามารถใช้ได้กับพื้นผิวที่ต้องการซ่อมแซม และต้องการเททับหน้าเพื่อความเรียบเนียน และสวยงาม

การเตรียมพื้นผิวสำหรับน้ำยาประสานคอนกรีต

                กรณีที่พื้นผิวคอนกรีตเดิมมีสิ่งสกปรก เช่น คาบปูน เศษน้ำมัน เศษน้ำยาต่าง ๆ จะเป็นตัวขวางกั้นให้น้ำยาประสานคอนกรีตไม่มีประสิทธิภาพ การเตรียมพื้นผิวก่อนการทาน้ำยาประสานคอนกรีตจำเป็นต้องทำ โดยมากการล้างทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ในกรณีที่มีเศษน้ำมัน ควรทำการเช็ดคาบน้ำมันออกก่อน เช่น กระดาษเช็ดคาบน้ำมัน กรณีที่มีฝุ่นมาก จะใช้เครื่องดูดฝุ่นเป็นตัวขจัดคาบฝุ่น กรณีคาบที่มีสารเคมีซึมลึก อาจจะใช้เครื่องขูดผิวหน้า ขูดเนื้อคาบที่ติดออกไปไปประมาณ 2-1 มม.

DSC02210.JPG

ชนิดของน้ำยาประสานคอนกรีต

1. น้ำยาประสานคอนกรีต ลาเท็ค (Latex)

น้ำยาประสานคอนกรีตชนิดนี้ผลิตมาจากน้ำยาสังเคราะห์เกรด SBR ใช้ผสมกับน้ำ ปูน และทราย ในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ เมื่อผสมเข้ากันแล้วจะมีลักษณะเป็นน้ำปูน และใช้เทบนผิวคอนกรีตปาดแต่งด้วยเกรียง หรือลูกกลิ้ง ให้ทำการเทคอนกรีตสดลงบนผิวน้ำยาประสานคอนกรีตที่ยังไม่แห้งตัว นอกจากนี้ยังใช้ทาลงบนพื้นผิวโดยตรง ลักษณะเป็นการทาเคลือบผิวคอนกรีตเก่า แต่อาจจะมีคุณสมบัติด้อยกว่าการผสมข้างต้น

2. น้ำยาประสานคอนกรีตชนิด อีพ๊อกซี่ (Epoxy)

น้ำยาประสานคอนกรีตชนิดนี้มีความเหนียวสูง ใช้ในกรณีที่ต้องการแรงยึดเหนี่ยวเป็นพิเศษ ลักษณะเป็นอีพ๊อกซี่ 2 ส่วน ผสมแล้วทาเคลือบบนผิวหน้า ระยะให้อีพ๊อกซี่เซตตัวประมาณ 15 นาที จึงเทคอนกรีตใหม่ทับหน้า

น้ำยาประสานคอนกรีตควรใช้ด้วยความระมัดระวังในการติดตั้ง และการผสม การเลือกชนิดน้ำยาประสานคอนกรีตให้ดูที่ความเหมาะสม งบประมาณ และสภาพหน้างาน น้ำยาประสานคอนกรีตควรใช้ให้เป็นมาตรฐานทุกโครงการก่อสร้าง เพราะในปัจจุบันผู้รับเหมามักจะเหลีกเลี่ยง โดยจะใช้เพียงการพรมน้ำลงบนพื้นผิวปูนเก่า

วิธีการใช้งานน้ำยาประสานคอนกรีต

ขั้นตอนการใช้งานน้ำยาประานคอนกรีตสำหรับคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ จะมีรายละเอียดดังนี้

 

1 การเตรียมพื้นผิวก่อนการติดตั้งน้ำยาประสานคอนกรีต โดยพื้นผิวคอนกรีตเก่าดหรือผิวคอนกรีตเดิม ต้องสะอาดและไม่มีคราบน้ำมัน หรือคราบเศษปูน เศษยางมะตอยหรือ เศษสิ่งสกปรกทั้งหลาย ภาษาอังกฤษเรียก sound good เรียกว่า สะอาดตามมาตรฐานงานเทคอนกรีต ผิวหน้าควรมีความขรุขระ ถ้าเป็นรอยต่อคอนกรีตหรือรอยต่อสำหรับเทท้อปปิ้ง สำหรับการทำหน้าลายหรือผิวคอนกรีตขรุขระเพื่อเทน้ำยาประสานคอนกรีต ทำได้ตั้งแต่คอนกรีตยังไม่เซ็ตตัวเช่น ใช้ไท้กวาดทำลาย หรือ ยังมีการใช้สารคมีที่เรียกว่า retarder เมื่อใช้แล้วจะเห็น หิน เป็นรอยต่อขรุขระที่ผิวหน้า 

 

2. การเตรียมน้ำยาประสานคอนกรีต เพื่อใช้เป็นกาวประสานคอนกรีต ควรผสม ซีเมนต์กับทรายละเอียดในอัตราส่วน 1 : 1 โดยน้ำหนัก และเตรียม น้ำยาประสานคอนกรีต (latex bonding agent) กับน้ำสะอาด ในอัตตราส่วน 1 : 1 โดยน้ำหนัก ทำการผสมวัสดุทั้งหมดให้เคล้ากัน โดยใช้สว่านกวน โดยกวนสารทั้งหมดประมาณ 4 - 5 นาที สังเกตุ จะเคล้ากันดีเป็นเนื้อเดียว มีสีเท่ากันทั้งหมด เนื้อเนียนสวยงาม เน้ย้ำว่าต้องใช้สว่านกวน ห้ามใช้มือผสมเด็ดขาด น้ำยาประสานคอนกรีตจะพร้อมใช้งานและควรใช้งานทันที ไม่ควรเก็บไว้นานเพราะจะทำให้แห้งที่ผิวหน้า

 

3. การทาน้ำยาประสานคอนกรีตที่ผสมเสร็จแล้ว ให้ใช้แปรงหรือลูกกลิ้ง กลิ้งไปตามพื้นผิวที่ต้องการประสานหรือที่พร้อมจเทคอนกรีต โดยควรทาน้ำยาประสานคอนกรีตก่อนเทไม่เกิน 30 - 45 นาที เพื่อป้องกันนน้ำยาประสานคอนกรีตแห้งตัว ทาแล้วน้ำยาจะเป็น slurry ข้นเหนียว อย่ารอให้แห้งสนิทให้ทำการเทคอนกรีตทันทีหลังติดตั้งน้ำยาประสานคอนกรีตแล้วเสร็จ 

 

4. ตรวจสอบน้ำยาประสานคอนกรีตว่าประสานกันดีสำหรับคอนกรีตเก่าและคอนกรีตใหม่ หลังเสร็จงานและคอนกรีตแห้งตัวให้ทำการตรวจสอบรอยน้ำยาประสานคอนกรีตว่ามีคุณภาพดีและไม่แยกชั้น ผิวคอนกรีตประสานกันสนิท ไม่มีโพรงอากาศหรือฟองอากาศเกิดขึ้น เมื่อตนรวจสอบดีแล้วน้ำยาประสานคอนกรีตเป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง สามารถใช้งานอื่นได้ทันที 

น้ำยาประสานคอนกรีต.jpg
น้ำยาประสานคอนกรีต.jpg

ข้อควรระวังน้ำยาประสานคอนกรีต

การใช้งานน้ำยาประสานคอนกรีตมีข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้งานดังนี้

1. ห้ามใช้งานน้ำยาประสานคอนกรีตกับพื้นผิวยางมะตอย

2. เมื่อน้ำยาประสานคอนกรีตแห้งตัวแล้วจำเป็นต้องทำซ้ำอีกรอบ

3. เมื่อน้ำยาโดนฝนชะล้างต้องทำการทาซ้ำอีกรอบ

4. ไม่ควรใช้น้ำประสานคอนกรีตบนพื้ผิวเหล็ก

ข้อควรระวังน้ำยาประสานคอนกรีต

น้ำยาประสานคอนกรีต latex bonding agent.j

1. ใช้งานง่าย

2. ให้แรงยึดเกาะสูงกับพื้นผิวที่เป็นผิวปูนและคอนกรีต

3. เพิ่มความทนทานให้โครงสร้าง

4. ให้กำลังที่สูงขึ้น

5. ประหยัดงบประมาณในการซ่อมแซมพื้นเป็นโพรงหรือการแยกตัวของคอนกรีต

6. เป็นวัสดุกันซึมในตัวเอง

การผสมน้ำยาประสานคอนกรีต กับปูนทราย เพื่อเป็น มอต้าร์ฉาบหรือเท

น้ำยาประสานคอนกรีตยังมีคุณสามบัติที่ดีอีกประการหนึ่งคือเมื่อผสมเข้ากับปูนทรายจะเป็นมอต้าร์ที่มีคุณสมบัติดีขึ้น เช่น ลดการร่อนของ มอต้าร์กับพื้นผิวคอนกรีตเดิม เพิ่มกำลังการยึดเกาะไม่หลุดร่อน เพิ่มคุณสมบัติให้เนื้อมอต้าร์มีความแน่นและไม่มีรูพรุน ลดการดูดซับน้ำ ใช้เป็นมอต้ารที่กันซึมได้บางส่วน แต่ไม่เน้น สามารถเอาไปเทเป็น screed ที่มีคุณสมัติไหลตัวได้ดี มีความทนทานสูง เมื่อเปรียบกับตัวอย่างที่ไม่มีการใช้น้ำยาประสานคอนกรีต เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพปูนมอต้าร์ง่ายๆ แค่นี้เองครับ

สนใจสั่งซื้อติดต่อ 
086-813-9621
Line id: rockmax99

bottom of page