ระบบกันซึมในพื้นที่ต่างๆ ที่ควรทำกันซึม
Area of Use for waterproofing application
ซ่อมดาดฟ้ารั่วราคา หมายถึง ราคารวมค่าของ ค่าแรง สำหรับการซ่อมดาดฟ้ารั่วทั้งดาดฟ้าคอนกรีต หรือดาดฟ้าที่เป็นวัสดุสำเร็จรูปเช่น แผ่นวีว่าบอร์ดหรือแผ่นไม้ซีเมนต์ต่างๆ
กันซึมดาดฟ้า หมายถึงวัสดุกันซึมที่ทำบนพื้นดาดฟ้าคอนกรีต และเกิดจากการรั่วซึมเป็นเหตุให้ต้องทำกันซึมดาดฟ้า มีหลายอาคารไม่ได้รับเหมากันซึมดาดฟ้า เป็นผลให้เกิดการรั่วซึมของน้ำเข้าอาคาร การหาช่างกันซึม ก็สามารถทำได้ไม่ยากแต่ช่างกันซึมที่เข้าใจและมีวัสดุกันซึมครบเต็มรูปแบบ หาได้ยาก กันซึมดาดฟ้าปรกติ จะคิดราคากันซึมต่อตารางเมตร ซึ่งรวม ค่าของบวกค่าแรง ใช้สำหรับปูหรือทาบนดาดฟ้ารั่วซึมโดยเฉพาะ เรียก Roof Waterproofing หรือกันซึมดาดฟ้า
กันซึมหลังคา หมายถึงวัสดุกันซึมที่ทำบนหลังคา เช่น หลังคากระเบื้องรั่ว หลังคาลอนคู่รั่ว หลังคา cpac รั่ว หรือ หลังคาชนิดต่างๆมีการรั่วซึม การหาช่างทำกันซึมก็ใช้หลักการเดียวกับกันซึมดาดฟ้า ะคิดราคากันซึมต่อตารางเมตร ซึ่งรวม ค่าของบวกค่าแรง
กันซึมระเบียง หมายถึงช่างรับเหมากันซึมที่ระเบียงอาคาร ระเบียงไม่ใช่เพียงแต่มีกระเบื้องแล้วจะกันซึมได้ จำเป็นต้องมีระบบกันซึมที่ถูกต้องถึงจะไม่เกิดการรั่วซึมหรือน้ำขัง
กันซึมบ่อบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การทำกันซึมสำหรับบ่อบำบัดน้ำเสียที่เป็นบ่อคอนกรีต มีขนาดใหญาพอสมควร มีทั้งน้ำเสียแบบอุตสาหกรรมและน้ำเสียชุมชน ซึ่งจะมีการใช้กันซึมบ่อบำบัดน้ำเสียคนละชนิดกัน
กันซึมห้องน้ำ คือ ระบบกันซึมที่ใช้ในห้องน้ำก่อนการปูกระเบื้อง กันซึมห้องน้ำนี้จำเป็นต้องทำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีการใช้งานทุกวัน และเป็นที่สะสมน้ำ เมื่อเกิดการรั่วซึมอาจจะเสียค่าใช้จ่ายมากในการซ่อมน้ำรั่ว
กันซึมห้องครัว ห้องครัวบางครั้งคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีกันซึม แต่เป็นจุดที่จำเป็นต้องมีเนื่องจากป้องกันไอน้ำปและการระเหยของน้ำชั้นใต้ดินขึ้นมากระทบกับอาหารและสิ่งขิงที่ใช้กินดื่ม
กันซึมถังน้ำใต้ดิน หมายถึงการติดตั้งระบบกันซึมบริเวณถังน้ำคอนกรีตที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งมักมีการรับแรงดันทั้งแรงดันจากผนังด้านนอกทั้งดินอละน้ำ และแรงดันด้านในจากน้ำ การออกแบบวัสดุกันซึมถังในใต้ดินควรทำด้วยความระมัดระวังและที่สำคัญคือควรมีการใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูงมาก และไม่เป็นพิษ เนื่องจากน้ำจำเป็นต้องใช้อุปโภค
กันซึมผนังกันน้ำ คือกันซึมที่ใช้ในงานผนังกั้นน้ำที่เกี่ยวกับระบบชลประทานและหรืองานอาคารที่มีชั้นใต้ดิน การติดตั้งมักควรทำด้านนอกที่เป็นด้าน positive ซึ่งจะกันน้ำได้โดยตรงและสัมผัสกับน้ำได้ตลอดเวลา วัสดุกันซึมต้องอยู่กับความชื้น น้ำ และแรงดัน ตลอด 24 ชั่วโมง การเลือกใช้วัสดุเพียงแค่ถูกอย่างเดียวอาจ่ตอบโจทย์และเสียค่าบำรุงรักษามากมาย
กันซึมรอยต่อ เรียกโดยรวมๆ ซึ่งแยกออกเป็นกันซึมรอยต่อที่เคลื่อนตัวได้และกันซึมรอยต่อที่เคลื่อนตัวไม่ได้ ทั้งนี้ ยังคงเป็นการออกแบบตามแนวยาว เพื่อป้องกันน้ำเข้ามาบริเวณรอยต่อของอาคารหรือโครงสร้าง